Share

การวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคถุงกรอง (Fiber analysis by filter bag technique)

Last updated: 31 Jan 2025
110 Views

การวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคถุงกรอง (Fiber analysis by filter bag technique)

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับเครื่องวิเคราะห์เยื่อใยกันก่อน

เครื่องวิเคราะห์เยื่อใย ผลิตภัณฑ์ Ankom Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแบรนด์ผู้นำตลาด สำหรับเทคนิคถุงกรอง (filter bag) ที่ริเริ่มและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นเครื่องที่ถูกใช้และอ้างอิง ในมาตรฐานการวิเคราะห์ AOCS Ba 6a-05 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงในปัจจุบัน 

จุดเด่นของเครื่องวิเคราะห์เยื่อใยเทคนิคถุงกรอง

  1. สามารถทำการสกัดและกรองกากใยได้ในเวลาเดียวกัน ทำให้ตัดขั้นตอนการกรอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยุ่งยากและกินเวลาในการทำงานของนักวิเคราะห์เป็นอย่างมากออกไป
  2. มีต้นทุนการวิเคราะห์ต่ำ สำหรับการวิเคราะห์เยื่อใยนั้นต้นทุนหลักๆจะมาจากภาชนะใส่ตัวอย่าง กล่าวคือ glass crucible สำหรับเทคนิคเดิม และ filter bag สำหรับเทคนิคถุงกรอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบราคาของภาชนะทั้ง 2 แบบนี้ ถึงแม้จะพิจารณาถึงจำนวนครั้งที่สามารถใช้ซ้ำได้ของ glass crucible แล้ว ต้นทุนของ filter bag ก็ยังดีกว่ามาก
  3. เป็นเทคนิคที่ไม่ใช้เครื่องแก้ว นักวิเคราะห์ไม่ต้องเสียเวลาในการล้าง และอบภาชนะหลังเสร็จจากการวิเคราะห์
  4. สามารถวิเคราะห์ได้สูงสุด 24 ตัวอย่างต่อครั้ง
  5. เป็นการวิเคราะห์ระบบปิด ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน

หลักการทำงานของเทคนิค Filter bag

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการวิเคราะห์

จากหลักการทำงานข้างต้น จะพบว่าการวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคนี้จะลดความผิดพลาดจากผู้วิเคราะห์ได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากเครื่องทำงานในระบบปิด และมีขั้นตอนที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำด้วยตัวเองเพียงไม่กี่ขั้นตอน  แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคนี้ก็มีโอกาสเกิดความแปรปรวนของผลการวิเคราะห์ได้จากปัจจัยต่อไปนี้

  1. การอบ และการทำให้ filter bag แห้งหลังจากการสกัด ขั้นตอนนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจาก filter bag จะสามารถดูดความชื้นจากอากาศได้ง่าย และหากเกิดการดูดความชื้นและทำให้น้ำหนัก filter bag เพิ่มขึ้นแล้ว จะส่งผลต่อค่าเยื่อใยที่คำนวณได้นั่นเอง
  2. ขนาดตัวอย่างเล็กเกินไปจนทำให้หลุดลอดออกจาก filter bag ในขณะการสกัด ทำให้ผลการวิเคราะห์ผิดพลาด
  3. การเลือกใช้ filter bag ไม่เหมาะสมกับตัวอย่าง
  4. การที่ไม่ใช้ถุงดูดความชื้นของ Ankom ในขณะเก็บและชั่งตัวอย่าง
  5. อุณหภูมิของพื้นที่ติดตั้งสูงเกินไป ทำให้สารละลายเดือดเร็วเกินไป และทำให้เกิดการสกัดที่มากเกินควร

วิธีลดปัจจัยที่ส่งผลให้การวิเคราะห์ผิดหลาด

เมื่อผู้ปฏิบัติงานมีประสบการณ์ และคุ้นเคยกับเทคนิคนี้มากขึ้น ก็จะสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของผลการวิเคราะห์ได้ เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น โดยจากปัจจัยข้างต้นสามารถแก้ไขได้ดังนี้

  1. ทบทวนวิธีการอบตัวอย่างว่าทำให้ตัวอย่างแห้งสนิทหรือไม่ และควรเก็บตัวอย่างอย่างไรเมื่ออบเสร็จ โดยสามารถอ้างอิงคู่มือการวิเคราะห์ของ Ankom ได้
  2. บดตัวอย่างให้มีความละเอียดในช่วง 1-2 มิลลิเมตร สำหรับการใช้งาน filter bag รหัส F57
  3. หากตัวอย่างมีขนาดเล็กมากกว่า 1 มิลลิเมตรมากๆ หรือเป็นตัวอย่างชนิดเหลว หรือชนิดเปียก ควรเลือกใช้ filter bag ชนิดละเอียด รหัส F58 ซึ่งจะสามารถป้องกันการหลุดลอดของตัวอย่างได้เป็นอย่างดี ส่วนตัวอย่างขนาด 1 มิลลิเมตรขึ้นไป สามารถใช้ filter bag รหัส F57 ได้ตามปรกติ โดยเราสามารถสังเกตหลังจากการสกัดได้ว่า ตัวอย่างของเรามีการหลุดลอดออกจากถุงหรือไม่ โดยวิธีสังเกตสามารถศึกษาได้จากคู่มือการใช้งานเครื่อง
  4. ถุงดูดความชื้น เป็นอุปกรณ์ที่บางครั้งถูกมองข้าม เพราะอาจดูเหมือนอุปกรณ์เสริมธรรมดาๆไม่ได้มีความสำคัญมาก แต่ความจริงแล้ว ถุงดูดความชื้นเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ผลการวิเคราะห์แม่นยำและถูกต้อง หรือบ้างหน่วยงานมีการใช้โถดูดความชื้น หรือเครื่องดูดความชื้นไฟฟ้าทดแทน ซึ่งต้องบอกว่าถุงกรอง(filter bag) สามารถดูดความชื้นขณะเปิดโถ หรือเครื่องดูดความชื้นไฟฟ้า เพื่อนำถุงกรองไปชั้งได้อย่างง่ายดาย เช่นนั้นแล้ว ทาง Ankom จึงเน้นยำให้ผู้ปฏิบัติงานใช้ถุงดูดความชื้นเสมอ และควรหมั่นตรวจสอบว่าถุงดูดความชื้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
  5. เลือกสถานที่ติดตั้งที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป และเป็นจุดที่อุณหภูมิสม่ำเสมอทั้งปี ไม่เย็นและร้อนต่างกันมากเกินไปในแต่ละช่วงฤดูกาล

เมื่อผู้ปฏิบัติงานสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ เชื่อว่าทุกท่านจะสามารถใช้งานเครื่องวิเคราะห์เยื่อใยเทคนิค filter bag ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และผลวิเคราะห์ถูกต้องแม่นยำ อย่างแน่นอน

 

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

ค้นหาเครื่องวิเคราะห์เยื่อใย 

บทความโดย : ปัญจรุจน์ ตันติธนัยพงษ์ : ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์

บริษัท ไซเอนซ์ บียอนด์ จำกัด

 


Related Content
การทดสอบการย่อยได้โดยวิธี in vitro digestibility
เครื่อง ANKOM Daisy II Incubator ใช้ในการศึกษาการย่อยได้โดยวิธี in vitro digestion ค่า % IVTD และ % IVTDBDM ถูกคำนวณได้จากสมการ
9 Dec 2024
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy