Share

การวิเคราะห์ความเสถียรของอนุภาคในสารแขวนลอย (Colloidal Stability Testing)

Last updated: 9 Dec 2024
269 Views

 

ในโลกของการกำหนดสูตรผลิตภัณฑ์นั้น มีปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงถึง เช่น

  • การกระจายตัว (Disperdibility)
  • ขนาดอนุภาค (Size)
  • ความเสถียร (Stability)
  • การกระจายตัวซ้ำ (Redispersion)

ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ จะเป็นตัวแปรว่าผลิตภัณฑ์ของเรามีคุณภาพผ่านเกณฑ์หรือไม่

การทดสอบความเสถียรด้วยดั่งเดิม หรือวิธีการใช้ตู้ควบคุมสภาวะ ต้องการเวลาในการทดสอบที่ยาวนาน เพราะจำเป็นต้องใช้สายตาของมนุษย์ในการตรวจวัด มีความแปรปรวนของผลการทดสอบสูง และมีความแม่นยำน้อย ด้วยข้อจำกัดของมนุษย์แต่ละคน ทำให้การยืนยันอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ (Shelf-life) สูตรผลิตภัณฑ์ ต้องช้าตามไปด้วย

ปัจจุบันมีเทคนิค Static Multiple Light Scattering (SMLS) ที่ใช้การติดตามและตรวจวัดความเสียรของผลิตภัณฑ์ ทั้งขนาด การแยกเฟส การเกิดการรวมตัว และการตกตะกอนเป็นต้น ทำให้การยืนยันอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ (Shelf-life) น้ันทำได้อย่างรวดเร็วมากกว่า 50 เท่า

โดยเทคนิคนี้ใช้การแสกนตัวอย่างด้วยเลเซอร์ความยาวคลื่น 880 นาโนเมตร (ตามมาตรฐาน ISO/TR 13097) แล้วใช้ตัวตรวจวัด 2 ชนิด เพื่อตรวจวัดการส่งผ่าน (Transmission detector) และตรวจวัดการสะท้อนกลับ (Back Scatthering Detector) โดยเครื่อง Turbiscan series (Formulaction/ Microtrc MRB) สามารถตรวจวัดอนุภาคในช่วงขนาด 10 นาโนเมตร ถึง 1 มิลลิเมตร ซึ่งเหนือกว่าสายตามนุษย์หลายเท่า และที่สำคัญคือ เป็นเทคนิคที่ทดสอบตัวอย่างจริง ไม่มีการเจือจาง การสัมผัส หรือเปลี่ยนสภาพของตัวอย่าง

 

 

การแสกนแต่ละครั้งตามช่วงเวลาที่กำหนด ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และด้วยซอฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถวิเคราะห์ได้หลายพารามิเตอร์ เช่น ดัชนีความเสถียร (Turbiscan Stability Index, TSI) การเปลี่ยนเฟส (Paek tickness/Phase separation) และ ขนาดอนุภาค (Particle size) ในแต่ละช่วงเวลาตลอดการทดสอบ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามรรถติดตามการเปลี่ยนแปลง เปรียบเทียบ และยืนยันความเสถียรของผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็ว

ปัจจุบันการทดสอบอายุการเก็บรักษา(Shelf-life) ของผลิตภัณฑ์ด้วยมีเทคนิค Static Multiple Light Scattering (SMLS) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ยา อาหาร และปิโตรเคมี 

ผู้เขียนบทความ : ปัญจรุจน์ ตันติธนัยพงษ์ (ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์)

บริษัท ไซเอนซ์ บียอนด์ จำกัด

 

ดูสินค้าที่เกี่ยวข้อง


Related Content
ZetaView® x30 Next Generation Nanoparticle Tracking Analyzer : Particle Metrix GmbH
ZetaView® x30 Next Generation Nanoparticle Tracking Analyzer : Particle Metrix GmbH
9 Dec 2024
การวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคถุงกรอง (Fiber analysis by filter bag technique)
การวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคถุงกรอง (Fiber analysis by filter bag technique) ช่วยลดขั้นตอน และลดเวลาการวิเคราะห์ได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนการวิเคราะห์ได้ดีกว่า จึงได้รับความนิยมอย่างมากในห้องปฏิบัติการต่างๆ ทั้งหน่วยงานราชการ มหาวิทยาลัย และโรงงานเอกชน เทคนิค filter bag มีความสะดวก รวดเร็ว แต่ก็มีความอ่อนไหวในเรื่องผลการทดลองอยู่บ้าง ดังนั้น บทความนี้เราจะชวนคุยในเรื่องเทคนิคการวิเคราะห์เยื่อใยด้วยเทคนิคถุงกรอง (Filetr bag) ให้ได้ผลที่ถูกต้อง และลดขอผิดพลาดในการวิเคราะห์
30 Jan 2025
การทดสอบการย่อยได้โดยวิธี in vitro digestibility
เครื่อง ANKOM Daisy II Incubator ใช้ในการศึกษาการย่อยได้โดยวิธี in vitro digestion ค่า % IVTD และ % IVTDBDM ถูกคำนวณได้จากสมการ
9 Dec 2024
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy and Cookies Policy
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy